วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

น้ำยาเช็ดกระจกจากวัตถุดิบธรรมชาติ



เรื่อง  น้ำยาเช็ดกระจกจากวัตถุดิบธรรมชาติ
นำเสนอ
อาจารย์ ทิพวรรณ  เพชรกันหา

สมาชิกกลุ่ม
1. นายชาญณรงค์      คลังคนเก่า           เลขที่ 5
2. นายธนานันท์        รสฉ่ำ                   เลขที่ 6
3. นายวรวุฒิ              ศิริรัตน์                เลขที16
4. นางสาวชุลีพร      แง้นกลางดอน      เลขที่ 21
5. นางสาวญาณิศา   วิเศษชัย                 เลขที่ 25
6. นางสาวรุ้งนภา     อรัญเวศ               เลขที่ 26
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ห้อง  8

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา IS การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ( IS 30251 )
ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2558
โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ อำเภอวิเชียรบุรี  จังหวัดเพชรบูรณ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา  เขต  40





คำนำ
รายงานเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชา IS การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS30251) มีเนื้อหาเกี่ยวกับเนื้อหาและความเป็นมาของน้ำยาเช็ดกระจกจากวัตถุดิบธรรมชาติร้อน ซึ่งมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับน้ำยาเช็ดกระจกจากวัตถุดิบธรรมชาติ
ขอบพระคุณ คุณครูที่ปรึกษาวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง คุณทิพวรรณ เพชรกันหา และผู้ใหคำปรึกษาในการจัดรูปแบบการพิมพ์และบรรณานุกรม คุณครูสุปราณี สุนทรสุริยวงศ์ ไว้ ณ ที่นี่
                หวังเป็นอย่างยิ่งว่า  รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน  ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมหากรายงานเล่มนี้ขาดตกบกพร่องประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ ที่นี้   และใคร่จะได้รับการแนะนำจากท่านผู้รู้


คณะผู้จัดทำ










สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                             หน้า
บทที่  1  บทนำ                                                                                                                                1
บทที่   2    เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                                                                                      3 
บทที่   3    วัสดุ อุปกรณ์และวิธีทำการทดลอง                                                                                7
บทที่   4    ผลการทดลอง                                                                                                                10
บทที่   5   สรุปและอภิปรายผลการทดลอง                                                                                     11                             
บรรณานุกรม
ภาคผนวก





 บทที่ 1
บทนำ
เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากวัตถุดิบธรรมชาติ

                น้ำยาทำความสะอาดประโยชน์และน้ำยาเช็ดกระจกหลายยี่ห้อมีแอมโมเนียนเป็น ส่วนผสมแอมโมเนียนมีฤทธิ์ เป็นต่างและสามารถกีดกร่อนมีสูตรเคมีคือ NH3 ซึ่งปกติจะอยู่ในสถานะก๊าซไม่มีสีที่มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว  กระจกเป็นวัตถุที่มีความวาวใส่ เวลามีฝุ่นหรือกาบสกปรกก็จะสังเกตเห็นได้ง่ายหรือแก่มือไปสมบัตินิดหน่วยก็เป็นรอยนิ้วมือ เราก็เลยต้องทำความสะอาดกระจกกันบ่ายๆ ซึ่งบางที่ถ้าน้ำยาเช็ดกระจกหมดขึ้นมาหรือรู้มาหรือรู้สึกว่าราคาน้ำยาเช็ดกระจกแพงเกิดไป เราลองมาทำน้ำยาเช็ดกระจกเกิดหมดขึ้นมา จะได้ปลอดภัยไร้สาพิษ
                รสและสรรพคุณยาไทยของมะกรูดเปลือกผสมขับขม ช่วยขับลมได้ดีน้ำของผลมะนาวเปรี้ยวจัดเป็นยาขับเสมหะ เมื่อผสมกับดินสอพองบริเวณที่เป็นแผลจะทำให้เย็นและยุบเวมะกรูดทางด้านอาหารใบกลิ่นใช้ปรุงแต่งกลิ่นดับคับอาหารน้ำมะกรูดยังช่วยถนอมอาหาร ทางด้านสมุนไพรใบรสปริงหอม แก้ไอแก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ซ้ำใน ผลเนื้อรสเปรี้ยว กัดเสมหะในคอ แก้น้ำลายเหนียว แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิต แก้ปวดท้อง ขับลมในสำไส้ผิวมะกรูดขับลมในลำไส้ บำรุงหัวใจ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ผลส้มโอขับลมในลำไส้แก้วมาเหล้า เปลือกผลของส้มโอจะช่วยเสมหะจุกแน่นหน้าอกแก้ใส่เลื่อนใบส้มโอนำมาพอกศีรษะ แก้ปวดหัวนอกจากนั้นเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้ออีกด้วย
                ส่วนที่นำมาใช้ผลิตเป็นน้ำยาเช็ดกระจก
-                   เปลือกของผลไม้
ประโยชน์ที่นำมาใช้เป็นน้ำยาเช็ดกระจก
-                   ลดค้าใช้จ่ายในครัวเรือน
-                   นำเปลือกผลไม้ที่ไม่ใช้แล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
-                   ได้ตอบสนองโครงการพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-                   ได้ศึกษาการทำน้ำยาเช็ดกระจกจากน้ำเอนไซม์
-                   ได้ทราบถึงวิธีทำน้ำเอนไซม์
               



วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาวิธีการทำน้ำยาเช็ดกระจกจากเปลือกผลไม้
2. เพื่อเปรียบเทียบระหว่างน้ำยาเช็ดกระจกจากที่ตลาดกับที่นำมาผลิตเอง

สมมติฐาน
1. ผลไม้ที่ใช้ได้แก่ มะกรูด อัญชัน
2. การใช้ผลไม้ในการผลิตจะประหยัดค่าใช่จ่ายมากกว่า
               3. เพื่อนำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์
4. เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1.สิ่งที่ศึกษา การทำน้ำยาเช็ดกระจกจากวัตถุดิบธรรมชาติ  
2.ศึกษาและใช้โปรแกรมา Blogger เพื่อการเผยแพร่ลงเว็บ
3.ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต
4.ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาใช้เวลารวม 2 เดือน 





บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากวัตถุดิบธรรมชาติ

การใช้น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาทำความสะอาดพัดประโยชน์และน้ำยาเช็ดกระจกหลายยี่ห้อมี   แอมโมเนียเป็นส่วนผสมแอมโมเนียมีฤทธิ์เป็นด่างและสามารถกัดกร่อน มีสูตรเคมีคือ NH3 ซึ่งปกติจะอยู่ในสถานะก๊าชไม่มีสีที่มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว แต่เมื่อละลายน้ำจะอยู่ในรูปสารละลายของ แอมโมเนียไฮดรอกไซด์ (NH4OH) อย่างไรก็ตามแอมโมเนียสามารถระเหยออกมาเป็นก๊าช และอาจเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจและดวงตาได้ โดยทั่วไปความเข้มขันของแอมโมเนียในผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือนอยู่ระหว่าง 5-10% น้ำหนักต่อปริมาตร
                กระจกเป็นวัสดุที่มีความวาวใส เวลามีฝุ่นหรือคราบสุกปรกก็จะสังเกตเห็นได้ชัดหรือแค่มือไป สัมผัสนิดหน่อยก็เป็นรอยนิ้วมือ เกิดความขุ่นมัวกันแล้วเราก็เลยต้องทำความสระอาดกระจกกันบ่อยๆ ซึ่งบ้างที่ถ้าน้ำยาเช็คกระจกเกิดหมดขึ้นมา หรือรู้สึกกว่าค่าน้ำยาแพงเกินไป เราลองมาทำน้ำยาเช็ดกระจกสำหรับใช้เองกันดูไหมครับ จะได้ปลอดภัยไร้สารพิษอีกด้วย และเคล็ดลับทำความสะอาดกระจกให้วาวใสเพื่อเอาใจคนที่ไม่ชอบกลิ่นฉุนๆของน้ำยาทำความสะอาดกระจกที่มีขายอยู่ทั่วไปและเพื่อให้ทุกคนประหยัดเงินในกระเป๋ากันด้วย



ภาพที่ 1   สมุนไพรที่นำมาใช้ในการผลิต
โดย   นางสาวประภาศรี  เสมาเพชร



ภาพที่ 2   มะกรูด
โดย   นางสาวประภาศรี  เสมาเพชร




1.มะกรูด
ชื่อวงศ์                   : RUTACEAE
ชื่อสามัญ               : Leech lime,MauritiusPapeda,kaffirLime,Paupine Orang
ลักษณะทั่วไป มะกรูดเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางมีความสูงประมาณ 2-6 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งบริเวณลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง แหลมและยาวผิวเปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะทรงพุ่มโปร่ง กิ่งก้านใบเป็นใบเดี๋ยว มีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกัน ส่วนล่างที่ติดต่อก้านใบ คือ หูใบ ใบมีสีเขียวแก่ ผิวใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน มีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วไป มีกลิ่นฉุน ขนาดใบกว้าง 2.5-5.01 เซนติเมตรดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมีกลิ่นหอม ออกจากซอกมุมใบเป็นดอกเดี๋ยวหรือช่อสั้น กลับรองดอกส่วนปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ มีขนปรกคลุม กลีบดอกมีลักษณะรูปไข่ ปลายแหลมส้นมี 5 กลีบ ยาว 7-11 เซนติเมตร กว้าง 2.5-5.0 เซนติเมตร รังไข่กลมผด รูปร่างค้อนข้างกลม เป็นชนิดผลเดี๋ยวผิวเปลือกนอกขรุขระเป็นปุ่ม ผลอ่อนสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนสีเหลืองขนาดของผลเท่ากับผลของมะนาวหรือใหญ่กว่าเล็กน้อยภายในผลมีเมล็ดจำนวนมากประโยชน์  ทางด้านอาหาร ใบ กลิ่นหอมใช้ปรุงแต่งกลิ่นดับอาหารน้ำมันมะกรูดยังช่วยถนอมอาหาร ทางด้านอาหารสมุนไพรไทย ใบ รสปรำหอ แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน ผลเนื้อรสเปรี้ยว กัดเสมหะในคอ แก้น้ำลายยาเหนียว แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิต แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ ผิวมะกรูดขับลมในลำไส้ บำรุงหัวใจ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน กำจัดรังแค ราก แก้ไข แก้ไอเลือดกำเดา ถอนพิษแก้พิษฝีภายในท้อง




สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
บำรุงหัวใจ ขับลมลำไส้ ขับระดู
-                   ผล รสเปรี้ยว สรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ แก้น้ำยาเหนียวฟอกโลหิตใช้สระผมทำให้ผมดกดำ ขจัดรังแค
-                   ราก รสเย็นจืด แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะแก้จุกเสียด
-                   น้ำมะกรูด รสเปรี้ยวกัดเสมหะใช้ดองยามีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิตสำหรับสตรี
-                   ใบ รสปรำหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน และดับกลิ่นคาว




2.อัญชัน
อัญชัน    จัดเป็นพืชมีดอกชนิดใบเลี้ยงคู่ เป็นพืชเถาเลื้อย  ตระกูลเดียวกับถั่ว มีอายุประมาณ 1 ปี  จึงจัดเป็นพืชอายุสั้น  ลำต้นเลื้อย และพันรอบหลัก  อาจยาวได้ถึง 6-7 เมตร มีดอกที่สวยงาม  โดยปกติมีสีน้ำเงิน  มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา
ชื่อพื้นเมือง                          : อัญชัน(กรุงเทพฯ ภาคกลาง) แดงชัน (เชียงใหม่) เอื้องชัน (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์                  : Clitoriaternatea L.
ชื่อวงศ์                               :  Leguminosae
ชื่อสามัญ                             :  Butterfly-pea (Australia )

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
            อัญชัน  เป็นพืชอายุหลายปี ต้นเป็นกอพุ่มขนาดเล็ก ปลายยอดเป็นเถาเลื้อยพัน (Twining) อัญชันที่เก็บรวบรวมสายพันธุ์จำแนกได้ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์กลีบดอกชั้นเดียว หรือดอกรา ดอกเป็นรูปดอกถั่วมี 3 ชนิดคือ ชนิดสีน้ำเงิน ม่วง และสีขาว และสายกลีบดอกซ้อน มี 5 กลีบดอก (standard ) ขนาดใหญ่  ซึ่งมีสีเช่นเดียวกัน  ทั้ง 2 สายพันธุ์ มีอับเรณุสีเหลืองอ่อน ใบประกอบเรียงตัวแบบขนขนปลายคี่  ใบย่อยรูปไข่ สีใบเขียวเข็ม ผิวอ่อนคอนข้างหยาบเล็กน้อยออกดอกตลอดปี ชนิดดอกเดียว ฝักรูปดาบแบบโค้งเล็กน้อย  เมล็ดแบนรูปไต
สรรพคุณทางยา
            ราก  ใช้บำรุงรักษาดวงตา ทำให้ตาสว่าง แก้ตาฟาง ตาแฉะ ฝนกับรากสะอึกและซาวข้าวกินหรือทา  แก้งูสวัด เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้ถูแก้ปวดฟัน ทำให้ฟันทน  รสเบื่อเมาปรุงเป็นยา ดอก ใช้รักษาอาการผมร่วง ใช้ขยี้ทาศีรษะช่วยปลูกผม  ใช้ทาคิ้ว ทำให้ผมและคิ้วดกดำเนื่องจากดอกอัญชันมีสารแอนโธ่ไซยานิน  มีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเล็กๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมมากขึ้น  แก้ฟกช้ำบวม เมล็ด เป็นยาระบาย

การนำมาใช้ประโยชน์
            ภูมิปัญญาชาวบ้านของไทย ได้นำเอาสีจากดอกอัญชันมาใช้  แต่งสีขนมไทย เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมชั้น เป็นต้น ทำให้สีคราม โดยเอาดอกอัญชันไปแช่ในน้ำร้อนจะได้สีน้ำเงิน ถ้าเติมน้ำมะนาว  หรือหยดน้ำพร้ามลงไปเล็กน้อย  จะได้สีม่วง นอกจากนี้ในสมัยโบราณยังนิยมใช้ย้อมผมจะทำให้ผมดำตามธรรมชาติ ไม่หงอกก่อนวัยแก้ปัญญาผมแตกปลายและผมเสีย กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมให้นุ่มสลวยเป็นเงางาม  ปัจจุบันมีการเอาสารสกัดจากดอกอัญชันไปใช้ผสมกับแชมพูและครีมนวดผม เพื่อทำให้ผมดกดำ

ขั้นตอนและวิธีการผลิต
เตรียมอุปกรณ์
                1. ดอกอัญชันสีม่วง
                2. น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล
                3. มะกรูด
                4. น้ำสะอาด
                5. หม้อสแตนเลส
                6. มีด
                7. โหลหรับหมัก






วิธีทำ
1. การทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชัน
2. ฝานมะกรูด เอาเฉพาะผิว ใส่ลงในหม้อต้มดอกอัญชันต้มต่อประมาณ 10นาที ดับไฟ
3. ปล่อยให้น้ำดอกอัญชันเย็นลง จนมีอุณหภูมิ60 องศาเซลเซียส ใส่น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาลลงไปคนให้ละลายเข้ากัน
4. เทใส่โหลสำหรับหมัก ปิดฝา พอให้แก๊สที่เกิดขึ้นระบายออกมาได้ ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน
5. กรองน้ำหมักชีวภาพที่ได้ เอากากออก (นำไปเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้)
6. นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันใส่ลงในขวดสเปรย์









บทที่ 3
วัสดุ อุปกรณ์และวิธีทำการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์
1. ดอกอัญชันสีม่วง                                  500   กรัม
2. น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล                 300   กรัม
3. มะกรูด                                                    3      ผล
4. น้ำสะอาด                                                     ลิตร
5. กระทะไฟฟ้า                                                ใบ
6. มีด                                                           1    เล่ม

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.       คิดหัวข้อโครงเรื่องเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
2.       ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่องที่สนใจว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใดและต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆและบันทึกเก็บข้อมูลที่ได้ศึกษาและค้นคว้าจากเว็บไซต์หรือหนังสือต่างๆไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
3.       ศึกษาน้ำยาเช็ดกระจกจากเว็บไซต์หรือหนังสือต่างๆที่นำเสนอเทคนิควิธีการทำน้ำยาเช็ดกระจก
4.       จัดทำโครงงานน้ำยาเช็ดระจก
5.       น้ำร่างโครงงานน้ำยาเช็ดกระจกส่งให้ครูที่ปรึกษาโครงงานดูว่าใช่ได้หรือไม่
6.       ทดลองน้ำยาเช็ดกระจกที่ทำ
7.       ปฏิบัติการจัดทำโครงงานเรื่องน้ำยาเช็ดกระจกให้สวยงามและน่าดู
8.       จัดทำเอกสารรายงานโครงงานน้ำยาเช็ดกระจกแล้วนำมานำเสนอ
9.       จัดทำรูปเล่ม ชิ้นงา
10.จัดทำคู่มือการใช้งานโครงงานน้ำยาเช็ดกระจก
11.ประเมินผล
12.นำเสนอโดยบล็อกเกอร์
13.วิธีดำเนินการทดลอง
ขั้นตอนการดำเนินงาน

ตอนที่ 1 ฝานมะกรูด เอาเฉพาะผิว


ตอนที่  2 ต้มดอกอัญชันในน้ำ ให้เดือดประมาณ 10นาที

ตอนที่   3 ใส่มะกรูดลงในหม้อต้มดอกอัญชันต้มต่อประมาณ 10นาที ดับไฟ

      
ตอนที่ 4 ปล่อยให้น้ำดอกอัญชันเย็นลง ใส่น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาลลงไปคนให้ละลายเข้ากัน





ตอนที่  5 เทใส่โหลสำหรับหมัก ปิดฝา ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน




ตอนที่  6 กรองน้ำหมักชีวภาพที่ได้ เอากากออก (นำไปเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้)
ตอนที่  7 นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันใส่ลงในขวดสเปรย์






บทที่4
ผลการทดลอง

     ตอนที่ 1 การทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชัน ผลเป็นดังนี้
เมื่อยังไม่กรอง ได้น้ำหมักที่มีสีม่วงเข้ม  มีแก๊สเล็กน้อย  มีกลิ่นออกเปรี้ยว  มีดอกอัญชันที่ลอยอยู่
    ตอนที่ 2 หาประสิทธิภาพในการทำความสะอาดของน้ำหมักกับน้ำยาเช็ดกระจก  ผลเป็นดังนี้


วัสดุทดลอง
จำนวนวัน
ระยะเวลา 5 นาที
ระยะเวลา 10นาที
กระจกเงา
วันที่ 1
ไม่ค่อยสะอาด
เริ่มใสสะอาด เงา
วันที่2
ใสสะอาด มีความเงาวาว
ใส สะอาด ไม่มีคราบ
มีความเงาวาวมาก


สรุปผลการทดลอง
วันที่ 1 ระยะเวลา 5นาทีแรก ไม่ค่อยสะอาดแต่ระยะเวลา 10นาทีต่อมาเริ่มใสสะอาดเงา  วันที่ 2 ระยะเวลา 5นาทีแรก ใสสะอาด มีความเงาวาวและระยะเวลา 10นาทีต่อมา ใสสะอาดไม่มีคราบ มีความเงาวาวมากขึ้น







บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการทดลอง
จากผลทดลองตอนที่ 1
เมื่อยังไม่กรอง น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันสีม่วงเข็ม มีแก๊สเล็กน้อย มีกลิ่นออกเปรี้ยวเล็กน้อย มีดอกอัญชันสีซีดลอยอยู่ด้านบนและมีฝ้าสีขาวลอยอยู่บนผิวด้านบน การที่น้ำหมักชีวภาพมีกลิ่นเปรี้ยวเล็กน้อยและฝ้าสีขาวลอยอยู่บนผิวด้านบน  แสดงว่ามีจุลินทรีย์เกิดขึ้น สามารถนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้งานได้ ถ้าไม่ฝ้าสีขาวลอยอยู่ด้านบนและมีกลิ่นเห็นแสดงว่าน้ำหมักชีวภาพเสีย ใช้ไม่ได้
สรุปได้ว่า น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันที่คณะผู้จัดทำขึ้นนั้นมาใช้ได้
ผลการทดลองตอนที่ 2
เมื่อน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันไปใช้ทำความสะอาดกระจกเงา ผลปรากฏว่า กระจกเงา มีความเงาวาว ไม่มีคราบสกปรกเหลืออยู่นอกจากนั้นน้ำมันหอมจากผิวมะกรูดยังมีสรรพคุณในการไล่แมลงต่างๆ
เมื่อหาประสิทธิภาพ  การทำความสะอาดขิงน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันกับน้ำยาเช็ดกระจกเงาสรุปได้ว่าไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ
1. นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ทำปุ๋ย บำบัดน้ำเสีย แก้ไข
2. นำพืชผัก ผลไม้ ดอกไม้ชนิดอื่น ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ




บรรณานุกรม
โครงงานวิทยาศาสตร์    ( 25  ตุลาคม  2556 ).    น้ำยาเช็ดกระจกจากวัตถุดิบธรรมชาติ  สืบค้นเมื่อวันที่
               14  ธันวาคม  พ.ศ.  2558.    จาก:miwkattarin.blogspot.com
เดชา  ศิริภัทร    ( 5  กรกฎาคม  2556 ).    ดอกอัญชัน    สืบค้นเมื่อวันที่  14  ธันวาคม  พ.ศ.  2558.
               จาก:http//www.doctor.or.th
วิกิพีเดีย    ( 3  สิงหาคม  2556 ).    น้ำยาเช็ดกระจกจากวัตถุดิบธรรมชาติ    สืบค้นเมื่อวันที่  14  ธันวาคม
             พ.ศ.  2558.    จากhome.kapook.com
วิกิพีเดีย    ( 5  กันยายน  2556 ).    มักรูด    สืบค้นเมื่อวันที่14  ธันวาคม  พ.ศ.  2558.    จาก:
วิกิพีเดีย    ( 27  ตุลาคม  2556 ).    อัญชัน    สืบค้นเมื่อวันที่  14  ธันวาคม  2558.    จาก:
ศ.เต็ม  สมิตินันทน์    ( 25  ตุลาคม  2556 ).    พรรณไม้    สืบค้นเมื่อวันที่  14  ธันวาคม  พ.ศ.  2558.
              จาก:  http://www.rspg.or.th/




ภาคผนวก
   




   









 





















         






       

                  

     


        

        

          






1 ความคิดเห็น:

  1. The best raft titanium | titanium-arts
    The best raft titanium is developed in a way that micro touch titanium trim is both portable and portable. This premium titanium watch band steel core allows you titanium cup to quickly turn the samsung titanium watch table titanium ore terraria into a $24.99 · ‎Out of stock

    ตอบลบ